การเติบโตแบบก้าวกระโดดของตลาด E-Commerce แนวโน้มของธุรกิจร้านค้าออนไลน์ในปี 2020 ว่ากำลังก้าวเข้าสู่ยุคไร้พรมแดนแบบเต็มตัวจากกระแสของเทรนด์ ดังต่อไปนี้

  • 1. การทำตลาด E-Commerceไทยจะดุเดือดขึ้น

หากนับจำนวนของสินค้าที่อยู่บน 3 Marketplaces เจ้าใหญ่อย่าง Lazada, Shopee และ JD Central จะพบว่า ในปี 2018 ทั้ง 3 แพลตฟอร์มมีสินค้ารวมกันอยู่ที่ 74 ล้านชิ้น เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับปี 2019 แล้วจะเห็นว่า มีจำนวนสินค้าที่เติบโตมากขึ้นถึง 174 ล้านชิ้นหรือมากถึง 2.4 เท่า โดยจำนวนสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากว่า 77% เป็นสินค้าที่มาจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน ส่วนจำนวนสินค้าจากประเทศไทยเองนั้นกลับมีสัดส่วนอยู่บนแพลตฟอร์มที่น้อยกว่ามากข้อมูล นี้แสดงให้เห็นว่า ตลาดรับทำเว็บไซต์ e-commerce ของไทยกำลังเข้าสู่สนามแข่งขันกับชาวต่างชาติที่ไหลทะลักเข้ามาทำธุรกิจในบ้านเรามากยิ่งขึ้น แน่นอนว่า ในปี 2020 นี้ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าบ้านอย่างเราๆ อาจจะต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้นกันอีกสักหน่อยกับจำนวนสินค้าที่มีในตลาดมากขึ้นจากชาวต่างชาติ แต่ถ้ามองในแง่ของยอดขายก็ยังถือว่าเป็นโชคดีที่คนไทยยังเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ภายในประเทศมากกว่าถึง 86% อาจจะด้วยปัจจัยด้านการขนส่ง ความเชื่อมั่นในตัวรับทําเว็บขายของออนไลน์หรือการรับประกันสินค้าต่างๆ ที่ต่างประเทศยังไม่สามารถตีตลาดคนไทยในส่วนนี้ได้ แต่ในปี 2020 นี้เทรนด์การซื้อสินค้าอาจเปลี่ยนไป เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้เปิดการค้าเสรี ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้าจากต่างประเทศรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม และนี่คือจุดที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญและเตรียมที่จะปรับตัวลงสนามแข่งขันกันมากขึ้น

 

  • 2.แบรนด์จะหันมาทำ Direct to Customers มากขึ้น

ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะเทรนด์รับทำ e-commerce ชั้นนำ ไทยในปี 2020 ผู้ประกอบการเจ้าใหญ่ๆ จะเริ่มให้ความสำคัญกับการทำ Direct to Customers ซึ่งเทรนด์นี้เกิดขึ้นจากการที่แบรนด์อยากจะทำความเข้าใจและรู้ใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้าง Customer Loyalty ให้กับธุรกิจของตัวเอง

รวมถึงแบรนด์เองก็อยากจะเป็นเจ้าของ Data ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญที่จะทำให้แบรนด์รู้ทุกอย่างว่า ผู้ใช้งานแต่ละคนดูอะไร ชอบอะไร ซื้ออะไร รุ่นไหน เมื่อไหร่ หรือแม้แต่คาดการณ์ว่าในอนาคตพวกเขาจะอยากซื้ออะไรได้โดยไม่จำเป็นต้องทำผ่านช่องทาง E-Marketplace ต่างๆ อีกต่อไป

 

  • 3. Social Commerce เป็นช่องทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

หากพูดถึงช่องทางการทำ E-Commerce ที่คนไทยนิยมใช้มากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นตลาด Social Commerce ซึ่งเมื่อนำข้อมูลสัดส่วนของ Platform ต่างๆ ในตลาด E-Commerce มาเปรียบเทียบกันจะเห็นว่า ในฝั่งของ Social Media ถือเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลในด้านการซื้อขายสูงสุดถึง 40% และเมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันในหลายๆ ประเทศ จะพบว่า ประเทศไทยถือเป็นผู้นำของตลาด Social Commerce โดยมีจำนวนคนไทยที่เคยชอปปิงผ่านช่องทาง Social Media ต่างๆ สูงถึง 40% ซึ่งเรียกได้ว่ามีจำนวนที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศที่ทำการสำรวจอีกด้วย

เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า Social Commerce เป็นช่องทางที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ และในปี 2020 นี้ ตลาด Social Commerce จะยิ่งคึกคักและตอบสนองการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นได้อีกจากการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการทั้งหลายสามารถปิดการขายได้เลยในแอปพลิเคชันเดียว ยกตัวอย่างเช่น Facebook Pay, Instragram Shopping, Line Shopping เป็นต้น

 

  • 4. Ride-Hailing Delivery ผนวกเข้ากับ E-Commerce

ในปี 2019 เทรนด์ธุรกิจ Ride-Hailing Delivery  ในไทยถือว่าเติบโตขึ้นมากโดยเฉพาะภาค Food Delivery และในปี 2020 นี้ Priceza ได้สรุปและคาดการณ์ไว้ว่า เทรนด์ธุรกิจ Ride-Hailing Delivery จะขยายตัวเข้ามาในภาค E-Commerce  สำหรับตลาด E-Commerce รับทําเว็บขายของออนไลน์ของประเทศอินโดนีเซีย ในแพลตฟอร์ม E-Marketplace ต่างๆ จะมีฟีเจอร์การจัดส่งในรูปแบบ Ride-Hailing Delivery ที่พร้อมทั้งส่งตรงสินค้าถึงมือผู้บริโภคภายในวันเดียว (Same Day Delivery) อยู่ด้วย ดังนั้น การแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2020 ของไทยจะดุเดือดขึ้นกว่าปี 2019 เพราะสินค้าต่างๆ จะเน้นบริการจัดส่งที่รวดเร็วมากขึ้นอย่างแน่นอน

 

  • 5. เทรนด์การขาย E-Marketplace ยังคงมาแรง

สำหรับข้อนี้จะเป็นการสรุปประเด็นจาก 3 Speakers ของ Lazada, Shopee และ JD Central ที่เห็นพ้องต้องกันว่า ในยุคนี้การชอปปิงออนไลน์รับทําเว็บไซต์ ขายสินค้าไม่ได้เป็นแค่ช่องทางส่งเสริมการขาย แต่เป็นไลฟ์สไตล์ที่เกิดขึ้นเพื่อความบันเทิงมากขึ้น

และในปี 2020 ก็ถือเป็นเวลาที่ดีที่ธุรกิจทั้งหลายจะเริ่มสร้างตัวตนบนไว้บน E-Marketplace ทั้งนี้ ก็เพื่อรวบรวมฐานลูกค้าและ Data ในตลาด E-Marketplace ที่กำลังมาแรง ด้วยการสร้าง Brand Official Shop ของตัวเองบน Platform ของ E-Marketplace  เพราะจากข้อมูลของสินค้าทั้งหมด 44,000 แบรนด์ มีจำนวนร้านค้าแค่ 1,700 ร้าน หรือคิดเป็น 4% เท่านั้นที่เข้ามาทำตลาดใน E-Marketplace ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าในปี 2020 นี้จะมีจำนวนสินค้าและจำนวนร้านค้าที่เป็น Brand Official Shop เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ส่งผลให้แบรนด์ต่างๆ เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและไม่เสียโอกาสในการขายให้กับพ่อค้าคนกลางหรือตัวแทนใดๆ ซึ่ง E-Marketplace ทั้งหลายเริ่มปรับตัวให้ทันต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วยการจัดแคมเปญให้ร่วมสนุก อย่างช่วง 11.11 ที่กระตุ้นให้คนออกมาใช้จ่ายได้มากขึ้น ทำให้เว็บไซต์ Marketplace หลายแบรนด์สร้าง Engagement ที่ดีได้คล้ายกับ Social Media Platform เลยทีเดียว

 

  • 6. Omni Channel คือโอกาสที่ห้ามลืม

อีกหนึ่งเรื่องที่พูดถึงกันตั้งแต่งาน Priceza เมื่อปีที่แล้ว กับการทำธุรกิจในรูปแบบ Omni Channel ซึ่งเป็นการผสมผสานช่องทางการขายทั้งแบบ Offline และ Online เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อในการชอปปิงสินค้า (Seemless Experience) ให้กับลูกค้าได้มากขึ้นเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งสำหรับเมืองไทย โดยในปี 2019 นี้ก็มีธุรกิจใหญ่อย่าง Central Retail ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มียอดขายหลักเกือบ 100% มาจากออฟไลน์ได้ลองนำ Omni Channel มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ทำให้สัดส่วนของยอดขายจากการทำ Omni Channel มีเปอร์เซ็นการเติบโตขึ้นมาเป็น 2.6%  เมื่อนำเปรียบเทียบกับตลาดอีคอมเมิร์ซทางฝั่งอเมริกา จะเห็นว่า ยอดขายจากการทำ Omni Channel ของประเทศอเมริกาเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 40.9% แสดงให้เห็นว่า ยอดขายจากการทำ Omni Channel ของไทยยังมีโอกาสเติบโตที่สูงขึ้นได้อีกมาก

 

นอกจากนี้ธุรกิจในรูปแบบ Omni Channel ยังมีประโยชน์ในด้านการเพิ่มอัตราการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น อ้างอิงจากข้อมูลของ Central ที่มีอัตราเฉลี่ยของรายจ่ายต่อปีเพิ่มสูงขึ้น 190% จากการ Tranform รูปแบบธุรกิจจากแบบ Offline มาเป็น Omni Channel

 

 

ที่มา : priceza.com