แนะแนวทางการปรับตัวของธุรกิจทำเว็บไซต์ e-commerce  เพื่อต้อนรับรูปแบบการค้าขายที่ไร้พรมแดนที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2020 ไว้ดังต่อไปนี้

1. ทำสินค้าให้ดีและแตกต่าง

เพราะเทรนด์การค้าขายแบบไร้พรมแดนของรับทำ e-commerce ชั้นนำ   ส่งเสริมให้ต่างชาติมากมายเข้ามาจับธุรกิจค้าขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในบ้านเรามากยิ่งขึ้น

ในฐานะผู้ประกอบการไทยก็ต้องมองให้เห็นถึงช่องทางที่จะทำให้สินค้าของเราโดดเด่นมากยิ่งขึ้น ด้วยการทำให้สินค้าที่มีอยู่ในมือนั้นมีเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำใคร รวมถึงคัดสรรให้คุณภาพของสินค้าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

เพราะจากข้อมูลการช้อปปิ้งออนไลน์ของคนไทยในปัจจุบันมักจะนำสินค้าที่ตามหาอยู่นั้นมาเปรียบเทียบคุณภาพและราคาก่อนการตัดสินใจซื้อทุกครั้ง ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญกับตัวสินค้าให้มาก เพื่อที่สร้างความโดดเด่นและเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าสำหรับผู้บริโภคในยุคใหม่ให้ได้มากที่สุด

2. พัฒนาและสร้างความประทับใจให้กับการบริการ

การบริการ ถือเป็นอีกปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจทำเว็บไซต์ ecommerce ในยุคไร้พรมแดน เพราะการที่จะทำให้ลูกค้าติดหนึบจนไม่อยากหนีไปซื้อสินค้าจากเจ้าอื่นได้นั้น นอกจากเรื่องของสินค้าที่ต้องดีและมีคุณภาพแล้ว ก็ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจผ่านการบริการของเราให้ได้มากที่สุดด้วย

แน่นอนว่าการทำ Direct to Customer (DTC) ที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้าก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ธุรกิจบรรลุในจุดประสงค์ในด้านการให้บริการได้ ซึ่งในแง่ของกระบวนการที่จะทำให้ลูกค้าสัมผัสกับความรู้สึกพึงพอใจจากการให้บริการของเราโดยตรงได้นั้น จะต้องประกอบขึ้นจากหลายปัจจัยสำคัญ เช่น

           2.1 การมีช่องทางการชำระเงินที่สะดวก 

ในปัจจุบันคนไทยใช้จ่ายเงินผ่านการทำธุรกรรมแบบ EOD (E-Payment on Delivery) อย่างการโอนเงินผ่าน Internet Banking, E-wallet หรือตัดผ่านบัตรเครดิตรวมแล้วถึง 83% ดังนั้น ธุรกิจจึงควรพัฒนาการบริการให้สามารถใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายขึ้นด้วย

           2.2 การส่งสินค้าที่รวดเร็ว 

ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของ JIB ร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่วางจุดขายให้กับแบรนด์ตัวเองในด้านการบริการที่น่าประทับใจ โดยใช้เวลาส่งแค่ 3 ชั่วโมงสินค้าก็ถูกจัดส่งถึงมือของลูกค้า แถมยังเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่าเป็น โมเดลที่ประสบความสำเร็จของการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคได้ภายในวันเดียวเลยก็ว่าได้

           2.3 บริการ Customer Support และการการันตีสินค้า

ความมั่นใจไม่ใช่สิ่งที่ซื้อได้ แต่สร้างขึ้นมาได้ ดังนั้น ธุรกิจ E-Commerce เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์จำเป็นที่จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดกับธุรกิจด้วยการการันตีสินค้า รวมถึงการทำ Customer Support ที่ช่วยตอบคำถามลูกค้าทั้งในช่วงสอบถาม, ตัดสินใจซื้อ ตลอดจนช่วงหลังการขายด้วย

           2.4 การเพิ่มช่องทางให้ครอบคลุม 

เพราะทุกวันนี้ลูกค้าซื้อสินค้าผ่านหลากหลายช่องทางบนโลกออนไลน์ ธุรกิจที่ทำอยู่จึงควรมีช่องทางการเข้าถึงที่ครอบคลุมทั้ง Social Commerce, E-marketplace และ Direct Channel เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายในต้นทุนการทำที่ไม่สูง รวมถึงเพิ่มความสามารถในการเก็บฐาน Data ที่ทำให้เราเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

 

ที่มา : contentshifu.com